logo-the-last-of-us
the last of us ซอมบี้

หัวข้อ

the last of us ซอมบี้

the last of us ซอมบี้ ตามเนื้อเรื่องระบุว่า เมื่อมนุษย์ได้รับสปอร์เชื้อราชนิดนี้เข้าสู่ร่างกาย เห็ดราก็จะเติบโตขึ้นแล้วเข้าควบคุมความคิดจิตใจ จนเจ้าของร่างสูญเสียการควบคุมตัว และถูกสั่งการให้ปีนป่ายขึ้นสู่ที่สูง เชื้อราปรสิตจะกัดกินเหยื่อจากข้างใน เพื่อสกัดสารอาหารทั้งหมดจากร่างเหยื่อสำหรับเตรียมนำไปสู่ขั้นสุดท้าย เจมส์ กาลาเฮอร์ ผู้ดำเนินรายการอินไซด์เฮลธ์ (Inside Health) ทางสถานีวิทยุบีบีซีเรดิโอโฟว์บรรยายว่า ฉากหนึ่งในเรื่องที่น่าหวาดกลัวยิ่งกว่าหนังสยองขวัญทั้งปวงก็คือ ภาพของกิ่งก้านแห่งความตายที่งอกออกจากศีรษะเหยื่อผู้ถูกเชื้อราซอมบี้เข้าครอบงำ ซึ่งในเวลาต่อมา ร่างเหยื่อเหล่านี้จะแพร่สปอร์เชื้อรามรณะออกไปรอบตัว เพื่อให้มนุษย์คนอื่นติดเชื้อแล้วกลายสภาพเป็นซอมบี้เหมือนกัน กาลาเฮอร์บอกว่าแม้เนื้อเรื่องนี้จะเป็นเพียงนิยายสยองขวัญ แต่ก็มีเค้าโครงจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ

“เชื้อราซอมบี้” มีจริงไหม the last of us ซอมบี้

the last of us ซอมบี้ เชื้อราปรสิตที่ชื่อ คอร์ดิเซปส์ (Cordyceps) และโอฟิโอคอร์ดิเซปส์ (Ophiocordyceps) ได้รับฉายาว่า “เชื้อราซอมบี้” เนื่องจากสามารถควบคุมร่างกายของแมลงให้มีพฤติกรรมไม่ต่างจากซอมบี้ได้ และเซอร์ เดวิด แอตเทนบะระ นักธรรมชาติวิทยาชื่อดังชาวอังกฤษก็เคยนำเสนอเรื่องราวนี้ไว้ในสารคดีชุดแพลนเน็ตเอิร์ธ (Planet Earth) ของบีบีซีที่แสดงให้เห็นเชื้อราชนิดนี้เข้าบงการและกัดกินมดตัวหนึ่ง

ภาพน่าตกตะลึงของ “มดซอมบี้” ในสารคดีชุดนี้ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างวิดีโอเกมยอดฮิต The Last of Us และซีรีส์ที่มีเค้าโครงเรื่องเดียวกัน ทั้งในเกมและซีรีส์บอกเล่าเรื่องราวของเชื้อราคอร์ดิเซปส์ที่ข้ามขั้นจากการหาเหยื่อที่เป็นแมลงมาเป็นการเข้าครอบครองร่างของมนุษย์ จนนำไปสู่การระบาดใหญ่ที่ทำลายล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ แต่ในโลกของความเป็นจริงมีความเป็นไปได้แค่ไหนที่จะเกิดการระบาดใหญ่ของเชื้อคอร์ดิเซปส์ หรือเชื้อเห็ดราชนิดอื่น ๆ

ดร.นีล สโตน ผู้เชี่ยวชาญด้านเชื้อราจากโรงพยาบาลโรคเขตร้อนในกรุงลอนดอนให้สัมภาษณ์กับบีบีซีว่า “ผมคิดว่าพวกเราประเมินความเสี่ยงจากการติดเชื้อราต่ำเกินไป” “พวกเรามีความคิดเช่นนี้มายาวนาน และไม่มีการเตรียมรับมือกับการระบาดใหญ่ของเชื้อราอย่างสิ้นเชิง” เขากล่าว ช่วงปลายเดือน ต.ค. 2022 องค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ได้ออกรายชื่อเชื้อราที่เป็นอันตรายต่อชีวิต บัญชีดังกล่าวประกอบไปด้วยเชื้อราร้ายแรงหลายชนิด แต่ไม่มีชื่อของเชื้อราคอร์ดิเซปส์ปรากฏอยู่ด้วย เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

ดร.ชาริสซา เดอ เบกเกอร์ นักจุลชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยอูเทรคต์ ในเนเธอร์แลนด์ซึ่งศึกษาเรื่องที่เชื้อราคอร์ดิเซปส์เปลี่ยนมดให้มีพฤติกรรมเหมือนซอมบี้ บอกว่าเธอไม่เห็นว่าเหตุการณ์ลักษณะนี้จะเกิดขึ้นกับมนุษย์ได้ เธออธิบายว่า “อุณหภูมิร่างกายของเราสูงเกินกว่าที่เชื้อราส่วนใหญ่จะสามารถเข้ามาอาศัยและเจริญเติบโตได้ ซึ่งนี่ก็เป็นกรณีเดียวกันสำหรับเชื้อราคอร์ดิเซปส์” “ระบบประสาทของพวกมันไม่ซับซ้อนเท่าของคนเรา ดังนั้นจึงเป็นเรื่องง่ายกว่าที่จะเข้าควบคุมสมองของแมลงเมื่อเทียบกับของมนุษย์ นอกจากนี้ระบบภูมิคุ้มกันของมันยังแตกต่างจากของพวกเรามาก” ดร. เดอ เบกเกอร์ กล่าว นักจุลชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยอูเทรคต์ระบุว่า เชื้อราคอร์ดิเซปส์ส่วนใหญ่มีวิวัฒนาการในช่วงหลายล้านปีที่ผ่านมาให้แพร่เชื้อสู่แมลงได้อย่างเฉพาะเจาะจงเพียงชนิดพันธุ์เดียว เชื้อส่วนใหญ่จะไม่กระโดดข้ามจากแมลงชนิดหนึ่งไปสู่ชนิดอื่น ดังนั้น ดร. เดอ เบกเกอร์ ชี้ว่า “การที่เชื้อราชนิดนี้จะแพร่จากแมลงชนิดหนึ่งมาทำให้มนุษย์ติดเชื้อได้นั้นจะเป็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่มาก”

ภัยจากเชื้อราที่อันตรายกว่าคอร์ดิเซปส์

ดร.สโตน ผู้เชี่ยวชาญด้านเชื้อราจากโรงพยาบาลโรคเขตร้อนในกรุงลอนดอนเตือนว่า ภัยคุกคามจากเชื้อราเป็นสิ่งที่ผู้คนเพิกเฉยมาเป็นเวลานาน แม้ในบรรดาเชื้อราที่พบบนโลกหลายล้านชนิดพันธุ์ จะมีเพียงไม่กี่ชนิดที่ก่อให้เกิดโรคร้ายได้ แต่เชื้อรากลุ่มเล็ก ๆ เหล่านี้ก็อาจเป็นภัยคุกคามชีวิตผู้คน มีข้อมูลว่าในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อราก่อโรคราว 1.7 ล้านคน หรือประมาณ 3 เท่าของผู้เสียชีวิตจากเชื้อมาลาเรีย

เชื้อราที่ WHO จัดให้เป็นเชื้อที่น่ากังวลอย่างยิ่งมีอยู่ด้วยกัน 19 ชนิด ซึ่งรวมถึงเชื้อราดื้อยา “แคนดิดา ออริส” (Candida auris) ที่เพิ่งอุบัติขึ้นเมื่อไม่นานมานี้และมีอันตรายถึงชีวิต รวมทั้งเชื้อราดำมรณะ “มิวคอร์ไมโคซิส” (mucormycosis) ที่กัดกินเนื้อเยื้อของเหยื่ออย่างรวดเร็วจนสร้างความเสียหายบนใบหน้า ดร.สโตน ระบุว่า เชื้อแคนดิดา ออริส เป็นชนิดที่ต้องเฝ้าระวังอย่างยิ่ง เพราะหากเราได้รับเชื้อชนิดนี้เข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือด ระบบประสาท และอวัยวะภายใน WHO ประเมินว่า ราวครึ่งหนึ่งของผู้ติดเชื้อแคนดิดา ออริสจะได้รับอันตรายรุนแรงจนเสียชีวิต “มันเหมือนอสุรกายที่อุบัติขึ้นเมื่อ 15 ปีก่อน แต่ปัจจุบันพบได้ทั่วโลก” ดร.สโตนกล่าว มีรายงานการตรวจพบเชื้อแคนดิดา ออริสครั้งแรกในหูของผู้ป่วยที่โรงพยาบาลผู้สูงอายุมหานครโตเกียวในปี 2009 แคนดิดา ออริส สามารถทนทานต่อยาต้านเชื้อรา และบางชนิดพันธุ์ยังทนทานต่อยาทุกชนิดที่มีอยู่ในปัจจุบัน นี่จึงทำให้มันถูกจัดอยู่ในกลุ่มเชื้อดื้อยา การติดเชื้อแคนดิดา ออริสมักเกิดขึ้นผ่านพื้นผิวในโรงพยาบาลที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ เชื้อสามารถเกาะติดที่สายสวนหลอดเลือดดำ และปลอกแขนวัดความดันโลหิต ซึ่งการกำจัดเชื้อทำได้ยากมาก หลายครั้งโรงพยาบาลมักต้องปิดหอผู้ป่วยทั้งแผนก

เชื้อราอันตรายอีกชนิดคือ คริปโตค็อกคัส นิโอฟอร์แมนส์ (Cryptococcus neoformans) ซึ่งสามารถเข้าสู่ระบบประสาทของมนุษย์และทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ เอลลีรู้ซึ้งถึงอันตรายของเชื้อราชนิดนี้เป็นอย่างดีในตอนที่เธอกับ ซิด สามีไปดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ที่คอสตาริกา แล้วเอลลีก็ล้มป่วยจากการติดเชื้อคริปโตค็อกคัส

ในตอนนั้นเอลลีเริ่มจากมีอาการปวดหัวและคลื่นไส้ จากนั้นก็เริ่มชักอย่างรุนแรงจนถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล ผลการสแกนพบว่าเอลลีมีอาการสมองบวม และผลการตรวจยืนยันว่าเธอติดเชื้อคริปโตค็อกคัส แต่เคราะห์ดีที่เอลลีตอบสนองการรักษาได้เป็นอย่างดี “ฉันจำได้ว่าตัวเองกรีดร้อง” เอลลีเล่าถึงตอนที่ตัวเองเกิดอาการประสาทหลอน ปัจจุบันเธอหายป่วยแล้ว แต่ยอมรับว่าไม่เคยคิดมาก่อนว่าเชื้อราจะก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงถึงเพียงนี้ ส่วนเชื้อมิวคอร์ไมโคซิส ซึ่งได้รับฉายาว่า “เชื้อราดำมรณะ” ถือเป็นเชื้อฉวยโอกาสที่จะเข้าโจมตีผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง